หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Strawberry Muffins


ส่วนผสมมัฟฟิน
สตอรว์เบอร์รี่สด(หรือเเช่เเข็ง) ๔๘๐ กรัม
เเป้งอเนกประสงค์ ๓๕๐ กรัม
น้ำตาลทราย ๑๑๐ กรัม
ผงฟู ๒ ช้อนชา
เบคกิ้งโซดา ๑ ช้อนชา
เกลือ ๑/๒ ช้อนชา
บัตเตอร์มิล์ค ๓๕๐ มิล.
น้ำมันพืช ๖๐ มิล.
ไข่ไก่(สดๆ) ๒ ฟอง
น้ำตาลวานิลา ๑๐ กรัม(หรือกลิ่นวานิลา)

ส่วนผสมท็อปปิ้ง
เเป้งอเนกประสงค์ ๗๐ กรัม
โอ๊ตมีล ๕๐ กรัม
น้ำตาลทราย ๗๐ กรัม
อบเชยผง ๑/๒ ช้อนชา
เนยนุ่ม ๖ ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
๑. วอร์มเตาอบ๒๐๐องศาเซลเซียส(เตาอบพัดลมร้อน ๑๗๐องศาเซลเซียส) เตรียมถาดมัฟฟิน วางถ้วยกระดาษลงในหลุดรอไว้หากไม่มีถ้วยกระดาษก็ให้ทาเนยเตรียมไว้
๒. ทำท็อปปิ้งก่อนโดยเทเเป้ง โอ๊ตมีล น้ำตาลทรายเเละอบเชยในอ่างผสม คนส่วนผสมให้กันด้วยไม้พายเเล้วใส่เนยลงไป ใช้ปลายนิ้วนวดให้ส่วนผสมเข้ากัน (จะได้ส่วนผสมเป็นเม็ดๆ)จากนั้นนำเข้าพักไว้ในตู้เย็น
๓. ล้างทำความสะอาดสตรอว์เบอร์รี่ ทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำเเล้วหั่นลูกเต๋า หลังจากที่หั่นเสร็จเรียบร้อยเเล้วให้เเบ่งเเป้งมาประมาณ๑ช้อนโต๊ะคลุกเเป้งกับสตรอว์เบอร์รี่พอเข้ากัน พักไว้
๔. ร่อนเเป้งเเล้วเทใส่ในอ่างผสม ใส่ผงฟู เบคกิ้งโซดา น้ำตาลเเละเกลือลงไป คนให้ส่วนผสมเข้ากันดี พักไว้
๕. เทบัตเตอร์มิล์คลงในอ่างอีกใบ ใส่น้ำน้ำพืช ไข่ไก่ วานิลาตามลงไป เเล้วตีด้วยเครื่องไฟฟ้าด้วยความเร็วปานกลางให้ส่วนผสมเข้ากันดี
๖. ค่อยตักเเป้งใส่ลงไปในอ่างเรื่อยๆจนเเป้งหมดเเละเข้ากันดีจึงหยุดตี เทสตรอว์เบอร์รี่ลงไปในอ่านเเป้งเเล้วค่อยๆคนด้วยไม้พายจนเข้ากับเเป้งดี
๗. ตักส่วนผสมลงในหลุมมัฟฟินเเล้วโรยด้วยท็อปปิ้งที่เตรียมไว้ นำเข้าเตาอบ ๒๕นาที

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553


น้องปุ๊กลุกจากประเทศไทย เจ๋ง ซิวขวัญใจช่างภาพ - ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม ขณะที่สาวงามจากฟิลิปปินส์ เป็นม้ามืดแรงปลาย ผ่านเข้ารอบ 5 คนสุดท้าย ในการประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2010...

เมื่อเวลาประมาณ​08.00 น. วันที่ 24 ส.ค.​ ตามเวลาประเทศไทย การประกวดมิสยูนิเวิร์ส ประจำปี 2010 จัดขึ้นที่ มันดาเลย์ เบย์ รีสอร์ต แอนด์ คาสิโน ในลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา โดยสาวงาม เดินแนะนำตัวด้วยชุดประจำชาติ จากนั้นมีการประกาศผู้เข้ารอบ 15 คน ได้แก่ เปอร์โตริโก ยูเครน เม็กซิโก เบลเยี่ยม ไอร์แลนด์ เซาท์ แอฟริกา ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย จาไมกา รัสเซีย อัลเบเนีย โคลัมเบีย กัวเตมาลา เช็ก รีพลับลิก และ ฟิลิปปินส์

ขณะที่มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส น้องปุ๊กลุก ฝนทิพย์ วัชระตระกูล ไม่ผ่านเข้ารอบ

ต่อมา 15 สาวงาม ออกมาอวดโฉม เดินโชว์ขาอ่อน ด้วยชุดว่ายน้ำ ก่อนที่จะประกาศ สาวงามที่เข้ารอบ 10 คนสุดท้าย ได้แก่ ไอร์แลนด์ อัลเบเนีย ฟิลิปปินส์ จาไมกา เม็กซิโก ยูเครน เปอร์โตริโก เซาท์แอฟริกา กัวเตมาลา และออสเตรเลีย โดยในรอบชุดว่ายน้ำ 15 คนนั้น ประเทศที่มีคะแนนสูงสุด คือ จาไมก้า 9.426 คะแนน และ เม็กซิโก--9.265 ส่วนประเทศที่เหลือคะแนนอยู่ระหว่าง 7-8 คะแนน



สำหรับรางวัล นางงามมิตรภาพ รางวัลปีนี้ตกเป็นของ นางงามจากออสเตรเลีย เจสซิตา แคมป์เบลล์

ส่วนหนึ่งเดียวของประเทศไทย บนเวทีการประกวดนางงามจักรวาล 2010 "ปุ๊กลุก" ฝนทิพย์ วัชระตระกูล คว้ารางวัลมิสโฟโตจินิค หรือ ขวัญใจช่างภาพ และรางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยม จากชุด "สยามไอยรา" ไปครอง

ผู้เข้ารอบ 5 คนสุดท้าย ได้แก่ ประเทศเม็กซิโก ออสเตรเลีย จาไมกา ยูเครน และ ฟิลิปปินส์






Miss Thailand Universe 2010
นางสาวฝนทิพย์ วัชรตระกูล
ชื่อเล่น: ปุ๊กลุก
อายุ : 20
สัดส่วน: 33-25-36
ส่วนสูง: 170 เซนติเมตร
น้ำหนัก: 52 กิโลกรัม
การศึกษา: ปริญญาตรี ปี 1 คณะนิติศาสตร์ ม.อัสสัมชัญ
จังหวัด: สมุทรปราการ

“มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์ส ประจำปี 2553” และ “ขวัญใจช่างภาพสื่อมวลชน”

รางวัลพิเศษ Miss Photogenic (ขวัญใจช่างภาพ) และ Best National Costume Award (ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม) จากการประกวดมิสยูนิเวิร์ส 2010

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กระทกรก


ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ รก กระโปรงทอง ละพุบาบี หญ้ารกช้าง (ใต้) ตำลึงฝรั่ง เป็นไม้เถาเลื้อยคล้ายตำลึง เถาค่อนข้างคดไปงอมา เถามีหนามเล็ก ๆ ขึ้นอยู่ห่าง ๆ โดยทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว รูปใบมนโค้งผิวเรียบปลายใบแหลมโดยแยกเป็นสามแฉก ใบและเส้นใบบริเวณที่ติดต่อกันมีสีแดงเรื่อ บริเวณใกล้โคนก้านใบมีแฉกแหลมเล็กเรียงตรงกันข้ามสลับกัน ก้านใบ มีขนาดก้านไม้ขีด ยาว 5 –6 เซนติเมตร มีขนอ่อนเป็นฝอยขนาดเล็ก ดอกมีลักษณะก้านดอกยาวกว่าใบ ดอกบานออกกลมกว้าง กลีบดอกสีขาวแซมด้วยริ้วสีม่วง ผลค่อนข้างกลมขนาดปลายนิ้วมือ และห่อหุ้มด้วย “รก” ผลสุกมีสีเหลือง

กระทกรก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Passiflora foetida L.; ชื่อภาษาอังกฤษ: Fetid passionflower, Scarletfruit passionflower, Stinking passionflower)
ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด นิเวศวิทยาและการแพร่กระจายขึ้นอยู่ตามที่รกร้างหรือขอบไร่ชายนา และบริเวณป่าพื้นราบ โดยเลื้อยพันกิ่งต้นไม้อื่น ๆ

ประโยชน์ทางด้านอาหาร ยอด ใช้เป็นผักสด มีรสขมเล็กน้อย หรือลวกจิ้มกับน้ำพริกและใช้แกงเลียง ผล ใช้กินเมล็ดและเยื่อหุ้มเมล็ด ทางด้านสมุนไพร เนื้อไม้ ใช้เป็นยาควบคุมธาตุ ถอนพิษเบื่อเมาทุกชนิดและใช้รักษาบาดแผล ราก ใช้ต้มน้ำดื่มแก้ไข แก้กามโรค ใบ ใช้ตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาเบื่อและขับพยาธิ ดอก ขับเสมหะ แก้ไอ ผล แก้ปวด บำรุงปอด ใบสด ใช้พอกแก้สิว ต้น ใช้ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไอ และอาการบวม

กระทกรก / เสาวรส (Passion Fruit)
กระทกรก หรืออีกชื่อหนึ่งคือ เสาวรสเป็นผลไม้ที่ช่วยบำรุงสายตา และผิวพรรณ เนื่องจากมีวิตามินเอ สูง ทั้งยังช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ ลดไขมันในเส้นเลือด และโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในเสาวรสนั้นมีวิตามินซี สูง คือ ๓๙.๑ มก./๑๐๐ มก. ซึ่งมีมากกว่ามะนาวเสียอีก


เพิ่มเติม
เสาวรสหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า กระทกรกฝรั่ง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Passion Fruit เป็นไม้ผลที่อยู่ในตระกูล Passifloraceae เสาวรสมี 2 ชนิดคือชนิดผลสีม่วง ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Passifloraedulis และผลสีเหลืองที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า P. edulis F. flavicarpa
โดยทั่วไปแล้วเสาวรสเป็นผลไม้อุตสาหกรรมคือปลูกเพื่อนำผลผลิตไปแปรรูปเป็นน้ำผลไม้เนื่องจากในผลมีน้ำมาก รสเปรี้ยวและมีกลิ่นหอมแต่ก็สามารถรับประทานผลสดได้ โดยเฉพาะบางพันธุ์ที่ผลมีรสชาติค่อนข้างหวาน สำหรับในประเทศไทยนั้นได้นำเสาวรสเข้ามาปลูกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2498 โดยเป็นพันธุ์สีม่วง ต่อมาได้มีผู้นำเข้ามาปลูกอีกในอีกหลายพื้นที่ทั้งพันธุ์ผลสีม่วงและผลสีเหลือง จนกระทั่งได้มีการปลูกเป็นการค้ากันทั่วไปแต่ก็ปลูกเพื่อส่งโรงงานแปรรูปเท่านั้น โดยมีแหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน เพชรบูรณ์ ระยอง ตราด ปราจีนบุรี บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี ชุมพร นราธิวาสและสุราษฎร์ธานี เป็นต้น ส่วนผลผลิตที่จำหน่ายเพื่อบริโภคสดนั้นไม่ใช่พันธุ์สำหรับรับประทานผลสดโดยตรง แต่เป็นการคัดเอาผลผลิตเสาวรสพันธุ์สำหรับแปรรูปบางพันธุ์ที่มีรสชาติค่อนข้างดี เช่น พันธุ์ผลสีม่วงมาจำหน่ายเป็นเสาวรสรับประทานสดแทน
ที่ผ่านมาหน่วยงานต่าง ๆ เช่น มูลนิธิโครงการหลวงและกรมวิชาการเกษตร ได้มีการพยายามวิจัยหาพันธุ์เสาวรสสำหรับประทานสดโดยเฉพาะ เนื่องจากผลผลิตเสาวรสสำหรับรับประทานสดมีราคาสูงกว่าเสาวรสสำหรับแปรรูปมาก ในส่วนของมูลนิธิโครงการหลวงนั้นได้มีการวิจัยหาพันธุ์เสาวรสสำหรับรับประทานสดมานานแล้วโดยได้นำเสาวรสสายพันธุ์จากประเทศต่าง ๆ เช่น ออสเตรเลียและไต้หวัน มาปลูกทดสอบในสถานีต่าง ๆ ได้แก่ สถานีเกษตรหลวงปางดะ, อินทนนท์, ห้วยลึก และแม่ลาน้อย เป็นต้น แต่ในระยะแรกยังไม่มีพันธุ์ไดที่มีลักษณะครบถ้วนตามที่ต้องการคือ ผลผลิตมีรสชาติดีซึ่งต้องค่อนข้างหวาน ขนาดผลใหญ่ให้ผลผลิตสูงและปลูกง่าย เนื่องจากพบว่าเสาวรสพันธุ์สำหรับรับประทานสดส่วนใหญ่ที่รสชาติดี แต่ผลมักจะมีขนาดเล็กให้ผลผลิตต่ำและค่อนข้างอ่อนแอ
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2539 จึงประสบความสำเร็จคัดเลือกได้เสาวรสพันธุ์รับประทานสดที่มีลักษณะตามต้องการ 2 สายพันธุ์ โดยคัดเลือกจากต้นที่เพาะเมล็ดจากเสาวรสสายพันธุ์จากประเทศไต้หวัน และได้นำออกส่งเสริมในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งพบว่าผลผลิตเป็นที่ยอมรับและต้องการของผู้บริโภคมาก ทำให้ปัจจุบันผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดและต้องเร่งขยายการส่งเสริมเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นในอนาคตอันใกล้เสาวรสรับประทานสดจะเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เสาวรสที่ถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของฟื้นที่สูงในอเมริกาได้เป็นไม้ประเภทเลื้อยมีอายุหลายปีลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยวสมบูรณ์เพศ แต่เสาวรสบางพันธุ์คือพันธุ์ผลสีเหลืองส่วนใหญ่ผสมตัวเองไม่ติดต้องผสมข้ามต้น ดอกเสาวรสจะเกิดที่ข้อบริเวณโคนก้านใบของเถาใหม่พร้อมกับการเจริญของเถา โดยต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะออกดอกติดผลเมื่อต้นมีอายุประมาณ 4-5 เดือน หลังปลูกลงแปลง แต่ถ้าเป็นต้นที่เสียบยอดหรือปักชำจะสามารถออกดอกติดผลได้เร็วขึ้น
ผลเสาวรสเป็นผลเดียว สามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 50-70 วันหลังติดผล มีหลายลักษณะ เช่น กลม รูปไข่ หรือผลรียาวขึ้นอยู่กับพันธุ์ เปลือกผลและเนื้อส่วนนอกแข็งไม่สามารถรับประทานได้ผลมี 2 สีคือผลสีม่วงและผลสีเหลือง ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลเข้มหรือดำเป็นจำนวนมากแต่ละเมล็ดจะถูกหุ้มด้วยรกซึ่งบรรจุน้ำสีเหลืองมีลักษณะเหนียวข้นอยู่ภายใน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีความเป็นกรดสูง และส่วนที่นำไปใช้บริโภคก็คือส่วนที่เป็นน้ำสีเหลืองนี้เอง
ชนิดและพันธุ์เสาวรส
โดยทั่วไปแล้วเสาวรสสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือชนิดผลสีม่วง และชนิดผลสีเหลืองซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ
1.เสาวรสชนิดผลสีม่วง (Passiflora edulis)
เสาวรสชนิดนี้ผิวผลจะเป็นสีม่วงผลมีลักษณะกลมหรือรูปไข่ ดอกสามารถผสมตัวเองได้ดีดอกจะบานในตอนเช้า ผลสุกมีรสหวานและกลิ่นหอมกว่าพันธุ์สีเหลือง แต่ผลมักจะมีขนาดเล็กกว่าคือเส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 4-5 เซนติเมตร น้ำหนัก 50-60 กรัมต่อผล
2.เสาวรสชนิดผลสีเหลือง (Deneger P. edulis Forma F. flavicarpa)
ลักษณะผิวผลจะมีสีเหลืองผลมีขนาดใหญ่กว่าชนิดผลสีม่วงคือเส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 6 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 80-120 กรัมต่อผล เนื้อในให้ความเป็นกรดสูงกว่าชนิดสีม่วง จึงมีรสเปรี้ยวมากและใช้แปรรูป เป็นหลัก
เสาวรสชนิดผลสีเหลืองดอกจะบานในตอนเที่ยงส่วนใหญ่ผสมตัวเองไม่ติดต้องผสมข้ามต้นแต่ต้นมีทนทานต่อโรคต้นเน่า เถาเหี่ยว โรคไวรัสและทนต่อไส้เดือนฝอยมากกว่าพันธุ์สีม่วงจึงนิยมใช้เป็นต้นตอในการเสียบกิ่งของพันธุ์ม่วง
พันธุ์เสาวรสรับประทานสด
เสาวรสพันธุ์รับประทานสดที่มูลนิธิโครงการหลวง คัดเลือกได้และส่งเสริมให้ปลูกเป็นการค้ามี 2 พันธุ์คือเสาวรสรับประทานสดเบอร์ 1 และเบอร์ 2 ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์สีม่วงทั้ง 2 พันธุ์ โดยคัดเลือกได้เมื่อปี พ.ศ. 2539 จากต้นที่เพาะเมล็ดจากเสาวรสสายพันธุ์ไต้เหวัน
1.พันธุ์รับประทานสดเบอร์ 1
ลักษณะผลเป็นรูปไข่สีม่วงอมแดง เมื่อตัดขวางผลจะเห็นว่ามีลักษณะเป็น 3 พู เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 5 เซนติเมตร น้ำหนักผลประมาณ 70-80 กรัมต่อผลรสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม ความหวานเฉลี่ยประมาณ 16 Brix
2.พันธุ์รับประทานสดเบอร์ 2
ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับพันธุ์เบอร์ 1 แต่สีผลจะเข้มและมีคุณภาพดีกว่าพันธ์เบอร์ 1 คือ รสชาติหวานและน้ำหนักต่อผลสูงกว่า โดยผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-6 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 70-100 กรัมต่อผล ความหวานเฉลี่ยที่ประมาณ 17-18 Brix พันธุ์นี้เปลือกหนากว่าพันธุ์เบอร์ 1 จึงสามารถเก็บไว้ได้นาน
ปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวง ได้เน้นให้เกษตรกรที่ปลูกเสาวรสใช้พันธุ์รับประทานเบอร์ 2 สำหรับปลูกเป็นการค้าเนื่องจากลักษณะเด่นที่กล่าวไปแล้วข้างต้น สำหรับพันธุ์ที่ใช้แปรรูปทั้งสีม่วงและสีเหลืองก็สามารถปลูกเพื่อรับประทานผลสดได้แต่ราคาของผลผลิตจะต่ำกว่าตามคุณภาพของผลผลิต
การขยายพันธุ์เสาวรส
วิธีการขยายพันธุ์
การปลูกเสาวรสรับประทานสดจะแตกต่างจากเสาวรสโรงงานที่ปลูกด้วยต้นกล้าจากการเพราะเมล็ด คือ ต้องรักษาให้เผลผลิตมีคุณภาพและรสชาติดี ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากพันธุ์เดิม ดังนั้นการปลูกจึงจำเป็นต้องใช้ต้นกล้าที่ได้จากการเปลี่ยนยอดพันธุ์ดีโดยมีขั้นตอน ดังนี้
1.การเพาะเมล็ดสำหรับทำต้นตอ

ต้นตอที่ใช้ควรเป็นเสาวรสโรงงานชนิดพันธุ์สีเหลือง เนื่องจากมีความแข็งแรงและทนทานตอโรงแมลงได้ดี และเมล็ดที่จะนำมาเพราะควรคัดจากผลและต้นแม่ที่สมบูรณ์ไม่เป็นโรคไวรัส นำมาล้างเอารกที่หุ้มเมล็ดออก นำมาผึ่งให้แห้งแล้วจึงนำไปเพาะแต่ไม่ควรเก็บเมล็ดไว้นานเกินไปเพราะจะทำให้ความงอกลดลง

การเพาะเมล็ดสามารถทำได้ทั้งในภาชนะ เช่น ถุงพลาสติกและตะกร้าหรือในแปลงเพาะกล้าโดยวัสดุเพาะใช้ดิน ปุ๋ยหมัก ขี้เถ้าแกลบและขุยมะพร้าว ผสมกันในสัดส่วน 2:1:1:1 ใช้วิธีโรยเมล็ดเป็นแถวแล้วกลบด้วยวัสดุเพาะให้หน้าประมาณ 1 เซนติเมตร ระวังอย่าให้เมล็ดแน่นเกินไปเพราะจะทำให้เกิดโรคโคนเน่า ปกติเมล็ดที่เพาะจะงอกภายใน 7-10 วัน หลังจากต้นกล้ามีใบจริง 1 ใบ ซึ่งอายุประมาณ 15-20 วันหลังเพาะจึงย้ายลงถุงปลูกขนาด 2.5 x 6 นิ้ว หรือแปลงปลูก ถ้าเป็นฤดูฝนหรือสามารถให้น้ำได้ทั้งนี้ขึ้นกับว้าจะเปลี่ยนยอกดเป็นพันธุ์ดีในเรือนเพาะชำหรือในแปลงปลูก ในระหว่างการเพาะกล้านั้นต้องมีการพ่นยาป้องกันกำจัดมดที่จะทำลายเมล็ดและแมลงที่เป็นเพาหะของโรคไวรัส เช่น เพลี้ยไฟและไรแดงอยู่เสมอ เพื่อให้ต้นกล้าปลอดจากโรคไวรัสและต้องให้ปุ๋ยช่วยเพื่อให้ต้นกล้าเจริญเติบโตเร็วขึ้น โดยอาจจะให้ปุ๋ยทางใบหรือใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 หรือ 21-0-0ผสมน้ำรด หลังจากที่ต้นกล้ามีอายุประมาณ 2-3 เดือน จึงสามารถเปลี่ยนยอดเป็นพันธุ์ดีดได้
2.การเปลี่ยนยอดพันธุ์
เสาวรสเป็นพืชที่สามารถเปลี่ยนยอดได้ง่ายและทำได้ทุกฤดูกาล ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสามารถทำได้ 2 แบบคือ การเปลี่ยนยอดพันธุ์ต้นกล้าในถุงก่อนนำไปปลูกและการนำต้นตอไปปลูกในแปลงก่อนแล้วจึงเปลี่ยนพันธุ์ภายหลัง

2.1.การเปลี่ยนยอดต้นกล้าที่ปลูกในถุง

การเปลี่ยนยอดแบบนี้มีข้อดีคือทำได้ง่ายและสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษา เนื่องจากทำได้ในพื้นที่จำกัดและสามารถคัดเลือกต้นกล้าที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงสม่ำเสมอกันไปปลูก นอกจากนี้ยังให้ผลผลิตได้เร็วขึ้นจึงเป็นวิธีการที่แนะนำให้ใช้การเปลี่ยนยอดนิยมใช้วิธีเสียบลิ่ม (Cleft grafting) ซึ่งทำได้ 2 แบบคือ

2.1.1 การเปลี่ยนยอดแบบใช้ยอดอ่อน

การเปลี่ยนยอดแบบนี้งานพัฒนาและส่งเสริมไม้ผล มูลนิธิโครงการหลวงได้พัฒนาขึ้นเพื่อลดการติดโรคไวรัสของต้นกล้า ปรับปรุงคุณภาพของต้นกล้าให้แข็งแรงสมบูรณ์สม่ำเสมอมากขึ้น ลดระยะเวลาในการเลี้ยงต้นกล้าในถุงปลูกให้สั้นลง เพื่อให้ระบบรากไม่เสียและให้ต้นกล้าเจริญเติบโตได้ต่อเนื่องไม่ชะงัดการเจริญเติบโตหลังการเปลี่ยนยอด

ต้นตอที่เหมาะสำหรับเปลี่ยนยอดคืออายุ 1.5-2 เดือน หลังเพาะซึ่งจะมีใบประมาณ 5-7 ใบและต้นยังอ่อนอยู่ ทำการเตรียมแผลของต้นตอโดยตัดยอดให้เหลือใบ 3-4 ใบ ผ่าต้นตอลึก 1.5-2.0 เซนติเมตร นำยอดพันธุ์ที่เป็นปลายยอดอ่อน ความยาวประมาณ 5 เซนติเมตรมีใบ 2-3 ใบ มาปาดเป็นรูปลิ่มความยาวเท่ากับแผลของต้นตอ จากนั้นนำมาเสียบลงบนต้นตอผูกด้วยเชือกฟาง ยางยืดหรือใช้ตัวหนีบ เสร็จแล้วนำต้นใส่ไว้ในกระโจมพลาสติกเพื่อรักษาความชื้นไม่ให้ยอดเหี่ยว หลังจากนั้น 7 วัน ยอดพันธุ์ดีจะติดสามารถนำออกจากกระโจมและเลี้ยงให้แข็งแรงอีก 20-30 วันก่อนนำไปปลูก

2.1.2 การเปลี่ยนยอดแบบใช้ตาข้าง

การเปลี่ยนพันธุ์แบบนี้เป็นวิธีการที่ใช้อยู่เดิม ซึ่งมีวิธีการเช่นเดียวกับการเปลี่ยนยอดแบบใช้ยอดอ่อน แต่ต้นตอที่ใช้จะต้องมีอายุมากกว่าคือประมาณ 3-4 เดือน เพื่อให้ต้นตอมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับยอดพันธุ์ดีที่ใช้ โดยตัดเถาให้มีตาข้าง 2 ตาและตัดใบออกให้เหลือครึ่งใบ ในกรณีที่ไม่มีกระโจมการเปลี่ยนยอดแบบนี้สามารถใช้ถุงครอบยอดเป็นต้นๆ ได้ หรือใส่ในกระโจมขนาดใหญ่ได้ เพราะไม่ต้องรักษาความชื้นให้สม่ำเสมอมากนัก

2.2 การเปลี่ยนยอดพันธุ์ในแปลงปลูก

วิธีการนี้จะทำหลังจากที่นำต้นตอลงไปปลูกในแปลงแล้ว ซึ่งมีข้อเสียคือยากแก่การเปลี่ยนพันธุ์และดูแลรักษาเนื่องจากใช้พื้นที่มาก แต่จะเหมาะสำหรับพื้นที่ปลูกที่อาศัยน้ำฝน เพราะสามารถปลูกต้นตอซึ่งมีความแข็งแรงกว่าต้นที่เปลี่ยนพันธุ์ลงไปก่อนในช่วงปลายฤดูฝนแล้วจึงทำการเปลี่ยนยอดพันธุ์ภายหลัง

การเปลี่ยนยอดสามารถทำได้ตั้งแต่หลังปลูกต้นตอไปแล้วประมาณ 1 เดือนจนกระทั่งเถาเจริญถึงค้างแล้ว โดยวิธีการเสียบลิ่ม (Cleft grafting) เช่นเดียวกับการเปลี่ยนพันธุ์ในถุงปลูก แต่กิ่งพันธุ์ที่นั้นจะเอาใบออกทั้งหมดและต้องคลุมด้วยถุงพลาสติกเพื่อรักษาความชื้นและหุ้มด้วยกระดาษป้องกันความร้อนจากแสงแดด นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนยอดพันธุ์ได้โดยวิธีการเสียบข้าง (Side grafting) ได้ หลังการเปลี่ยนยอดให้รักษาใบของต้นตอไว้แต่ต้องหมั่นปลิดยอดที่จะแตกจากตาข้างของต้นตอออก เพื่อไม่ให้แข่งขันกับยอดพันธุ์ดี
การวางแผนการขยายพันธุ์และการผลิตต้นกล้า


การขยายพันธุ์และผลิตต้นกล้าเสาวรสนั้นต้องมีการวางแผนให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่ต้องการปลูก ฤดูกาลและนิสัยการเจริญเติบโตของเสาวรสโดยเฉพาะระยะเวลาให้ผลผลิต การวางแผนที่ถูกต้องจะทำให้เสาวรสให้ผลผลิตอย่างเต็มที่และเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาน้อยที่สุด โดยต้องวางแผนผลิตต้นกล้าให้มีอายุเหมาะสมพอดีเมื่อถึงเวลาปลูกที่ได้กำหนดไว้ว่าเหมาะสมสำหรับรูปแบบการปลูกต่างๆ เช่นปลูกแบบให้น้ำหรือการปลูกแบบอาศัยน้ำฝน การผลิตต้นกล้าเร็วเกินไปจะทำให้ต้องเลี้ยงต้นไว้ในถุงนานจะมีปัญหาระบบรากไม่ดีและต้นทุนการดูแลเพิ่มขึ้น การผลิตต้องล้าช้าก็จะทำให้ต้นกล้าไม่แข็งแรงสมบูรณ์พอเพียงกับระยะเวลาปลูกที่เหมาะสม
การปลูกเสาวรสรับประทานสด
เสาวรสรับประทานสดมีวิธีการปลูกและการปฏิบัติดูแลรักษาเช่นเดียวกับเสาวรสโรงงาน แต่ต้องเพิ่มความประณีตในการปฏิบัติดูแลรักษาบางอย่าง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ปกติแล้วเสาวรสเป็นพืชที่มีอายุยาวนานหลายปี แต่โดยทั่วไปแล้วมีการปลูกกัน 2 ระบบ คือ การปลูกแบบเก็บเกี่ยว 1 ฤดูกาลต่อการปลูก 1 ครั้ง และเก็บเกี่ยว 2-3 ฤดูกาลต่อการปลูก 1 ครั้ง แต่ระบบที่แนะนำให้เกษตรกรใช้ในปัจจุบันคือแบบปลูก 1 ครั้ง เก็บเกี่ยว 2-3 ฤดูกาล เนื่องจากเป็นการลดต้นทุนคือลงทุนทำค้าง 1 ครั้งสามารถเก็บผลผลิตได้ยาวนานขึ้น
การผลิตและการตลาดเสาวรส
เนื่องจากเสาวรสรับประทานสดเป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงวิจัยได้และส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ผลิต ปัจจุบันจึงมีผลผลิตจากมูลนิธิโครงการหลวงเท่านั้นที่ออกสู่ตลาด โดยมีผลผลิตส่งจำหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541/2542(ส.ค.2541-ก.พ.2542) จำนวน 3,905.5 กิโลกรัม ปีพ.ศ.254/2543(มี.ค.2545-ก.พ.2543) จำนวน 7,012 กิโลกรัมและในปี พ.ศ.2543/2544 (มี.ค.2543-ก.พ.2544) จำนวน 37,925 กิโลกรัม แต่พบว่าปริมาณผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด เนื่องจากผลผลิตเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทำให้ความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าการเพิ่มการผลิต ในขณะที่ราคาผลผลิตอยู่ในระดับที่ดีคือเฉลี่ยกิโลกรัมละประมาณ 10-12 บาท ซึ่งสูงกว่าเสาวรสโรงงานถึง 3-4 เท่า

จากสภาพดังกล่าวจึงคาดว่าเสาวรสรับประทานสดมีศักยภาพที่จะส่งเสริมให้เป็นไม้ผลเศรษฐกิจชนิดหนึ่งได้ ทั้งบนพื้นที่สูงและพื้นที่ต่ำ แต่ทั้งนี้การขยายการผลิตในระยะแรกคือ 2-3 ปีข้างหน้าต้องวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโดยคาดว่าไม่ควรเกิน 200 ตันต่อไป เพื่อรักษาระดับราคาของผลผลิตไม่ให้ลดต่ำลงและเพื่อศึกษาความต้องการของตลาดในอนาคตข้างหน้าให้แน่นอนอีกครั้ง

การปลูกเสาวรสนั้นมีปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือการใช้ไม้ทำค้างดังนั้นการส่งเสริมปลูกต้องระวังไม่ให้เกิดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่ามาเพื่อใช้ทำค้าง การส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้ไผ่ควบคู่กับการปลูกเสาวรสจะเป็นประโยชน์มาก

วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พิพิธภัณฑ์ลูฟร์

พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (ฝรั่งเศส: Musée du Louvre) หรือในชื่อทางการว่า the Grand Louvre เป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะอันตั้งอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่มีชื่อเสียงที่สุด เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งได้เปิดให้สาธารณะชนเข้าชมได้เมื่อปี พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์คาเปเทียง ตัวอาคารเดิมทีเคยเป็นพระราชวังหลวง ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ที่จัดแสดงและเก็บรักษาผลงานทางศิลปะที่ทรงคุณค่าระดับโลกเป็นจำนวนมาก อย่างเช่น ภาพเขียนโมนาลิซา, The Virgin and Child with St. Anne, Madonna of the Rocks ผลงานของเลโอนาร์โด ดาวินชี หรือภาพ Venus de Milo ของอเล็กซานดรอสแห่ง Antioch ในปี พ.ศ. 2549 พิพิธภัณฑ์ลูฟร์มีผู้มาเยี่ยมชมเป็นจำนวน 8.3 ล้านคน ทำให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง] และยังเป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดในกรุงปารีส
พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ออกแบบโดย ไอ. เอ็ม. เป สถาปนิกชาวจีน-อเมริกัน
พีระมิดลูฟร์ (อังกฤษ: Louvre Pyramid) เป็นพีระมิดที่สร้างขึ้นจากกระจกและโลหะ มีพีระมิดขนาดเล็กกว่า 3 หลังตั้งอยู่โดยรอบ ตั้งอยู่ที่ลานหน้าพิพิธภัณฑสถานลูฟร์ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ทำหน้าที่เป็นทางเข้าหลักของพิพิธภัณฑ์ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2532 และกลายเป็นหนึ่งในจุดสังเกตของกรุงปารีส

ภาพเขียนโมนาลิซา
การก่อสร้างพีระมิดมอบหมายโดยฟรองซัว มิตแตร์รองด์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2527 ออกแบบโดย ไอ. เอ็ม. เป่ย สถาปนิกที่เคยรับผิดชอบการออกแบบ Miho Museum ที่ญี่ปุ่น โครงสร้างพีระมิดนี้สร้างขึ้นจากแผ่นกระจกทั้งหลัง มีความสูง 20.6เมตร ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีความยาวด้านละ 35 เมตร ประกอบขึ้นจากแผ่นกระจกรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน 603 แผ่น และแผ่นกระจกรูปสามเหลี่ยม 70 แผ่น

พีระมิดและโถงทางเข้าที่อยู่ข้างใต้ สร้างขึ้นเนื่องจากทางเข้าเดิมของลูฟร์ไม่สามารถรองรับจำนวนผู้มาเยือนที่มีมากในแต่ละวันได้อีกแล้ว ผู้มาเยือนที่เข้าจากพีระมิดจะลงไปโถงทางเข้ากว้างขวาง แล้วกลับขึ้นไปยังอาคารหลักของลูฟร์ พิพิธภัณฑ์อีกหลายแห่งได้นำแนวคิดนี้ไปใช้ เช่น Museum of Science and Industry ในชิคาโก การก่อสร้างพีระมิดและโถงทางเข้าใต้ดินดำเนินการโดย Dumez

กระจก 666 แผ่น: ตำนานเมือง
พีระมิดล้อมรอบด้วยอาคารของลูฟร์บางคนกล่าวอ้างว่าแผ่นกระจกบนพิระมิดลูฟร์มีทั้งหมด 666 แผ่น ซึ่งเป็น "number of the beast" ที่มักจะถูกนำไปเชื่อมโยงกับซาตาน ผู้สนใจด้านประวัติศาสตร์จำนวนมาก ตัวอย่างเช่น หนังสือของ Dominique Stezepfandt ที่มีชื่อว่า François Mitterrand, Grand Architecte de l'Univers ได้กล่าวไว้ว่า "พีระมิดถูกอุทิศให้แก่พลังที่เล่ากันว่าเป็น Beast ใน พระคัมภีร์วิวรณ์ (...) โครงสร้างทั้งหลังมีรากฐานอยู่บนเลข 6"

เรื่องราวของกระจก 666 แผ่นเริ่มต้นขึ้นเมื่อราวทศวรรษที่ 1980 (พ.ศ. 2523-2532) โดยแผ่นพับโฆษณาอย่างเป็นทางการที่ตีพิมพ์ระหว่างการก่อสร้างได้กล่าวอ้างถึงตัวเลขนี้ถึงสองครั้ง แต่หน้าก่อนๆในแผ่นพับกล่าวไว้ว่ากระจกมี 673 แผ่น ตัวเลข 666 ยังถูกกล่าวถึงในหนังสือพิมพ์หลายฉบับ อย่างไรก็ตาม พิพิธภัณฑสถานลูฟร์ได้แถลงว่า พีระมิดประกอบขึ้นจากแผ่นกระจก 673 แผ่น (รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน 603 แผ่น และรูปสามเหลี่ยม 70 แผ่น) [4] มีผู้พยายามนับจำนวนแผ่นกระจกบนพีระมิดอยู่หลายครั้ง โดยแต่ละครั้งจะนับได้จำนวนที่แตกต่างกันเล็กน้อย แต่จะมากกว่า 666 แผ่นทุกครั้ง

ข่าวลือได้กลับมาอีกครั้งใน พ.ศ. 2546 เมื่อนวนิยาย The Da Vinci Code ของแดน บราวน์ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ โดยที่ตัวเอกของเรื่องครุ่นคิดว่า "พีระมิดหลังนี้สร้างขึ้นด้วยแผ่นกระจก 666 แผ่นพอดี ตามความต้องการของประธานาธิบดีมิตแตร์รองด์ ซึ่งกลายเป็นหัวข้อร้อนท่ามกลางผู้สนใจทฤษฎีสมคบคิดที่กล่าวอ้างว่า 666 เป็นตัวเลขของซาตาน" อย่างไรก็ตาม David A. Shugarts ได้รายงานว่า จากคำกล่าวของโฆษกประจำสำนักงานของไอ. เอ็ม. เป่ย ประธานาธิบดีฝรั่งเศสไม่เคยระบุจำนวนแผ่นกระจกที่ต้องการให้ใช้ในการก่อสร้างพีระมิด