หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แม่ชีเทเรซา


แม่ชีเทเรซา
เป็นแม่ชีในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ท่านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ช่วยเหลือ และผู้ต่อสู้เพื่อคนยากไร้ทั้งในประเทศที่ยากจนและร่ำรวย จนเมื่อปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) ท่านจึงได้รับเกียรติให้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และหลังจากที่ท่านถึงแก่กรรม สำนักวาติกัน โดยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ได้ประกาศให้ท่านเป็น "บุญราศี" ซึ่งเป็นขั้นเริ่มต้นของการเป็นนักบุญ ผ่านพิธีบุญราศีในนามว่า "บุญราศีเทเรซาแห่งกัลกัตตา"

ภารกิจการกุศล
เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ขณะที่แม่ชีเทเรซากำลังนั่งรถไฟกลับไปยังสำนักชีที่ทาร์จีลิง ระหว่างทางเธอก็ได้ยินพระวจนะของพระเจ้า ซึ่งเนื้อหาที่พระเจ้าพูดกับแม่ชีเทเรซาในขณะนั้น ทำให้แม่ชีเทเรซาตัดสินใจขออนุญาตไปทำงานในสลัม เพื่อช่วยเหลือคนยากจน แต่การทำแบบนั้นถ้าหากทำโดยไม่ได้รับการอนุญาตเป็นพิเศษจะถือว่ามีความผิดทางศาสนา แม่ชีเทเรซาจึงขอให้บาทหลวงใหญ่ (หัวหน้าบาทหลวง ในชุมชนหนึ่งๆ ซึ่งอาจอยู่ตั้งแต่ระดับเมือง ภูมิภาค หรือประเทศ จะมีเพียงหนึ่งท่าน) ขอร้องไปยังพระสันตะปาปา ให้อนุญาตแม่ชีเทเรซาเป็นกรณีพิเศษ

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) แม่ชีเทเรซาได้รับอนุญาตเป็นพิเศษให้ไปทำงานในสลัมได้ แต่ก่อนนั้นต้องให้มีความรู้เพียงพอเสียก่อน ซึ่งเธอก็ได้เดินทางไปศึกษาวิชาพยายาลที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองปัตนา รัฐพิหาร เมื่อศึกษาจบแม่ชีเทเรซาก็ได้ก่อตั้งโรงเรียนกลางแจ้งในสลัม มีเด็กๆ ให้ความสนใจมาเรียนกันมามากมาย หลังจากนั้นไม่นานก็เริ่มมีศิษย์เก่าจากโรงเรียนสตรีเซนต์มาเรียมาขอบวชเป็นผู้ช่วยแม่ชีเทเรซา โดยคนแรกที่มาขอบวช คือ "สวาชินี ดาส" เมื่อบวชแล้วได้รับสมญาทางศาสนาว่า "แม่ชีแอ็กเนส" และไม่นานก็มีศิษย์เก่ามาบวชเพิ่มอีกถึง 10 คน

ในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) บาทหลวงใหญ่ได้ตั้งกลุ่มของแม่ชีเทเรซาให้เป็นองค์กรอิสระทางศาสนา มีชื่อว่า "คณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้า" (Missionaries of Charity) โดยแม่ชีเทเรซาได้เป็นหัวหน้าองค์กร ซึ่งนับตั้งแต่นั้นมาผู้คนส่วนใหญ่มักเรียกแม่ชีเทเรซาว่า คุณแม่เทเรซา (Mother Teresa)

วันหนึ่งแม่ชีเทเรซาได้คิดที่จะสร้างบ้านหลังหนึ่ง เพื่อให้ผู้หิวโหยที่นอนรอความตายอยู่ข้างถนนนั้นได้มานอนตายอย่างสงบ และด้วยเหตุนี้ท่านจึงขอยืมให้วัดกาลีของศาสนาฮินดูใช้เป็น "บ้านของผู้รอความตาย" (Home for the Dying) โดยเริ่มเปิดใช้ในปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) แต่ชาวฮินดูพอสมควรที่ไม่เห็นด้วยกับการที่คุณแม่เทเรซาซึ่งเป็นชาวคริสต์ จะมาใช้วัดของชาวฮินดูเป็นสถานที่ แต่เมื่อผู้บัญชาการตำรวจเข้าไปคุยกับคุณแม่เทเรซา ก็ได้ผลสรุปว่าคุณแม่เทเรซายังใช้สถานที่วัดกาลีอยู่ได้ต่อ

เมื่อปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) มีผู้ใจบุญบริจาคบ้านให้แก่คณะมิชชันนารีแห่งความรักของพระเจ้า เพื่อให้ทางคณะฯ ได้ใช้งานบ้านให้เป็นประโยชน์ต่อคุณแม่เทเรซาและส่วนรวม คุณแม่เทเรซาได้ตัดสินใจใช้บ้านหลังนี้ในการรับเลี้ยงเด็กกำพร้า ตั้งชื่อว่า "บ้านเด็กใจบุญ" (Children's Home of the Immaculate Heart) [5]

พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) คุณแม่เทเรซาเริ่มใช้รถพยาบาลเคลื่อนที่ออกรักษาผู้ป่วยที่เป็นชาวไร่ชาวนา โดยโรคที่ชาวไร่ชาวนาป่วยมากที่สุดคือ โรคเรื้อน แต่ในช่วงนั้นสังคมอินเดียยังมองเห็นผู้ป่วยโรคเรื้อนเป็นสิ่งน่ารังเกียจ ผู้ป่วยโรคเรื้อนจึงคิดว่าคนเองไม่มีค่า คุณแม่เทเรซาจึงเริ่มคิดถึงปัญหานี้

พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) ที่ทำการของแม่ชีเทเรซาที่อยู่นอกประเทศอินเดียเริ่มเปิดทำการ มีทั้งในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย

ไม่กี่ปีต่อมา ผู้ว่าการรัฐเบงกอลตะวันตกได้ให้คุณแม่เทเรซายืมใช้แปลงที่ดินที่เมืองอาซันซอลขนาด 140,000 ตารางเมตร (ประมาณ 87.5 ไร่) เพื่อให้ใช้เป็นสถานสงเคราะห์ผู้ป่วยโรคเรื้อน คุณแม่เทเรซาได้แบ่งสรรที่ดินไว้อย่างลงตัว แต่ไม่มีเงินจะสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ได้ออกแบบไว้ คุณแม่เทเรซานั่งครุ่นคิดอยู่สักพักก็นึกขึ้นได้ว่าพระสันตะปาปาเคยมอบรถยนต์เปิดประทุนสีขาวบริสุทธิ์ชั้นดี ถ้าขายเฉยๆ จะได้ราคา 100,000 รูปี (ประมาณ 400,000 บาท) แต่นั่นยังไม่เพียงพอ คุณแม่เทเรซาตัดสินใจทำสลาก โดยเอารถคันนั้นเป็นรางวัล ทำสลาก 5,000 ใบ ขายสลากใบละ 100 รูปี (ประมาณ 400 บาท) ใครถูกรางวัลจะได้รับรถพระสันตะปาปาไป การขายสลากแบบนี้ คณะมิชชันนารีของคุณแม่เทเรซา ได้รับเงินถึง 500,000 รูปี (ประมาณ 2,000,000 บาท) ในที่สุดคณะมิชชันนารีของคุณแม่เทเรซาก็ได้สร้างที่ดินขนาดกว่า 80 ไร่ ให้เป็นหมู่บ้านในฝันของผู้ป่วยโรคเรื้อนได้สำเร็จใน พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) ตั้งชื่อว่า "หมู่บ้านสันติสุข" มีทั้งโรงพยาบาลและที่อยู่ทั้งสำหรับเหล่าแม่ชีและเหล่าผู้ป่วย มีผู้ป่วยโรคเรื้อนขอเข้ารับการรักษาที่หมู่บ้านสันติสุขนี้มากกว่า 15,000 คน

ไม่นานหลังจากนั้น แม่ชีเทเรซา ก็เปิดที่ทำการอีกแห่งหนึ่ง คราวนี้เป็นการนำกาบมะพร้าวมีรีไซเคิล โดยนำใยมะพร้าวด้านในมาผลิตเป็นสินค้า ตั้งแต่แปรงขัดหม้อ จนถึงพรมนุ่มๆ สินค้าบางชิ้นมีคุณภาพดี ก็สามารถนำไปขายในเมืองได้

ไม่นานต่อมา คุณแม่เทเรซาเมื่อรู้ว่า สายการบินต่างๆ จะจัดการอาหารที่ผู้โดยสารกินเหลือโดยการทิ้งทั้งหมด จึงไปขอให้บริษัทสายการบินแอร์อินเดีย มอบอาหารที่ผู้โดยสารกินเหลือมาเป็นอาหารแก่เด็กๆ ใน บ้านเด็กใจบุญ

ในปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) คุณแม่เทเรซาได้รับเกียรติให้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ในฐานะ "สำหรับการอาสาต่อสู้เพื่อลดความยากจนทุกข์ยากซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการนำไปสู่ความสงบสุขและสันติ" (for work undertaken in the struggle to overcome poverty and distress, which also constitute a threat to peace.) นอกจากนี้ คุณแม่เทเรซาปฏิเสธงานเลี้ยงฉลองที่ท่านได้รับรางวัลโนเบล และขอใหผู้ที่ทำเค้กฉลองมาแล้ว นำเค้กไปมอบให้คนยากคนจน

คุณแม่เดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) ซึ่งก็ได้ตระเวนปราศรัยไปตามที่ต่างๆ ในประเทศ เนื้อหาส่วนใหญ่คือ ความเหลื่อมล้ำในสังคม การรังเกียจคนจรจัด การกลั่นแกล้งประทุษร้ายกันในญี่ปุ่น

พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) อิสราเอลมีสงครามกับองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ จนเกิดการสู้รบรุนแรงในแถบเอเชียตะวันตก คุณแม่เทเรซาก็เดินทางเข้าไปเพื่อช่วยเหลือเด็กๆ ที่ติดค้างในสถานที่ต่างๆ มาได้ 37 คน

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เทศกาลในประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส ดินแดนแห่งเทศกาล
งานฉลองที่มีสีสันและสนุกสนานตั้งแต่เช้ายันค่ำ จะหมุนเวียนจัดกันไปจัดตามเมืองต่างๆ ทั่วฝรั่งเศส
งานเทศกาลที่จัดกันในปัจจุบันล้วนเป็นมรดกตกทอดสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งอดีต หมู่บ้านแต่ละแห่งจะต้องมีงานฉลองของตน และในแต่ละเมืองจะต้องมีเทศกาลของดีของเด่นประจำปีไว้สนุกสนานกัน เช่น งานเดินขบวนคนยักษ์ (คนต่อขา) ของทางตอนเหนือของฝรั่งเศส งานคาร์นิวัลเมืองนีซ (Nice) งาน Ferias เมืองนีมส์ (Nîmes) และเมืองอาร์ล (Arles) งานประจำปีเมืองบายอน (Bayonne) หรือเมืองเบซิเยส์ (Béziers) ฯลฯ งานเหล่านี้เป็นที่รวมความสนุกสนานของชาวเมืองซึ่งยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวจากต่างถิ่นให้มาร่วมความบันเทิงด้วยกัน นอกจากงานเทศกาลต่างๆ ในเขตภูมิภาคแล้ว ฝรั่งเศสยังมีงานสำคัญประจำปีระดับชาติอีก 2 งาน ซึ่งทุกเมืองจะเฉลิมฉลองพร้อมๆ กัน งานแรกคืองานวันชาติ 14 กรกฎาคมซึ่งเป็นวันสำคัญที่เปิดตัวด้วยการสวนสนามของทหารเหล่าต่างๆ และจัดขึ้นอย่างใหญ่โตที่ถนนชองส์-เอลิเซ่ส์ (Champs-Elysées) อันเลื่องชื่อของปารีส พอถึงกลางคืนจะมีการจุดดอกไม้ไฟที่สวยงามตระการตา และมีงานเต้นรำที่สนุกสนานแบบฝรั่งเศสแท้ ส่วนตามเมืองใหญ่ๆ มักจัดการแสดงดนตรีกลางแจ้งให้ชมกันโดยไม่ต้องเสียค่าผ่านประตู งานใหญ่งานที่สองคือ เทศกาลดนตรีซึ่งจัดขึ้นทุกวันที่ 21 มิถุนายน เทศกาลนี้เปิดโอกาสให้คนรักดนตรีทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นได้แสดงความสามารถกันเต็มที่และสุดเหวี่ยงในท้องถนนและทุกหนทุกแห่ง นอกจากนี้ยังมีเทศกาลเพลงคลาสสิค ละคร ละครสัตว์ และอื่นๆ อีกมากมายตลอดทั้งปี เพียงเท่านี้คุณก็คงพอรู้แล้วว่าในฝรั่งเศสความสนุกสนานเพลิดเพลินนั้นไม่มีการเว้นวรรคจริงๆ



ตำนานไข่อีสเตอร์
ในวันที่ 8 เมษายนที่จะถึงนี้จะเป็นวันเริ่มแรกของ เทศกาลอีสเตอร์ และนับเนื่องต่อไปจนครบเดือน ชาวคริสต์ทั้งหลายจะให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้กันอย่างมาก นอกจากจะมีประเพณีต่างๆ ที่สืบทอดต่อๆ กันมาแล้ว ชาวยุโรปจะถือว่าหลังพ้นฤดูหนาวอันน่าเบื่อหน่ายแล้ว ก็จะได้เริ่มต้นรับฤดูใบไม้ผลิอันสดใสด้วยการท่องเที่ยวกันอย่างสนุกสนาน

ชาวคริสต์เชื่อกันว่า วัน EASTER คือวันกลับฟื้นคืนชีพของพระเยซู และถือกันว่า “ไข่” เป็นอาหารที่สามารถบริโภคได้เช่นเดียวกับนมและเนย ซึ่งไข่เป็นผลิตผลที่ได้จากสัตว์ โดยไม่ต้องทำการฆ่าให้เลือดตกยางออก และชาวคริสต์ในนิกาย ออร์โธดอกซ์ ถือเป็นประเพณีที่จะให้ไข่ทาสีแดงแก่เพื่อนสนิทในช่วงเทศกาลอีสเตอร์

ซึ่งประเพณีนี้เริ่มจาก Mary Magdalene สตรีผู้มีบทบาทสำคัญมาตั้งแต่คริสตกาล ภาพหลังจากที่พระเยซูคริสต์เสด็จสู่สวรรค์ โดยที่นางได้เดินทางไปยังกรุงโรมและตะโกนร้องต่อหน้าองค์จักรพรรดิว่า “พระคริสต์ทรงฟื้นแล้ว” และได้มีการมอบไข่ทาสีแดงให้กับองค์จักรพรรดิด้วย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ไข่จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ที่ศักดิ์สิทธิ์ของเทศกาลนี้

ไข่สีแดงยังเป็นสัญลักษณ์ของหลุมฝังศพและชีวิตใหม่ โดยตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณชาวอียิปต์และชาวกรีกจะฝังไข่ลงไปในหลุมฝังศพ ชาวโรมันก็กล่าวว่า “ชีวิตทั้งปวงมาจากไข่” ซึ่งชาวคริสต์ก็น่าจะได้รับความเชื่อนี้ตกทอดมาจากคนโบราณเช่นกัน

เมื่อตอกเปลือกไข่ให้แตกออก สีแดงคือสีของโลหิตแห่งพระคริสต์ผู้ไถ่บาปให้แก่ชาวโลก และฟองไข่หมายถึงชีวิตใหม่ภายหลังการคืนชีพของพระองค์ ในช่วงถือศีลไข่เป็นอาหารต้องห้าม แต่เมื่อพ้นวาระดังกล่าว ไข่ที่ต้มสุกก็หมายถึงการถนอมอาหารไม่ให้สูญเปล่า ซึ่งชาวสเปนก็ได้ปรุงอาหารชื่อ Hornazo ขึ้น เพื่อบริโภคในช่วงเทศกาลนี้ ที่ตกแต่งด้วยไข่ต้มเป็นสาระสำคัญ

ส่วนทางตอนเหนือของอังกฤษก็มีการต้มไข่แล้วนำมาเป็นการเล่นชนิดหนึ่ง โดยใช้ไข่ต้มสุกมาชนไข่ของผู้อื่นให้แตก หากไข่ของใครที่ยังคงรูปเดิมอยู่ถือเป็นผู้ชนะ หรือไม่ก็มีการกลิ้งไข่ต้มสุกลงจากเนินเขา ไข่ของใครกลิ้งไปได้ไกลที่สุดจะเป็นผู้ชนะ เหล่านี้คือการเล่นที่ใช้ไข่ต้มสุกมาเป็นอุปกรณ์ เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลดังกล่าวนี้

ในช่วงของฤดูหนาวที่เพิ่งผ่านพ้นไปคือ ฤดูแห่งการถือบวชในศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นฤดูที่เคร่งครัดและจำกัดในเรื่องของอาหารการกิน เทศกาลอีสเตอร์ซึ่งเริ่มขึ้นในฤดูใบไม้ผลิคือสิ่งที่สร้างชีวิตชีวาให้สดใส จึงต้องมีการปรุงอาหารมื้อพิเศษเพื่อต้อนรับเทศกาลนี้ โดยในวันเริ่มต้นของเทศกาลนี้ จะมีประเพณีที่ทุกครอบครัวจะมากินอาหารร่วมกัน ซึ่งอาหารที่นิยมทำต้อนรับเทศกาลนี้ อาทิ

Boiled Eggs ไข่ต้มจะถูกเสิร์ฟเป็นอาหารเช้า โดยเรียงมาอย่างสวยงามในตะกร้าสาน และมีการให้การ์ดและของขวัญต่อกัน

Roast Lamb แกะอบ ซึ่งถือว่าเป็นอาหารจานสำคัญของเทศกาล จะถูกเสิร์ฟพร้อมกับมินท์ซอสและผักต่างๆ

Simnel Cake เป็นขนมที่นิยมกันในอังกฤษและไอร์แลนด์ ที่นิยมบริโภคในช่วงเทศกาลนี้พร้อมกับน้ำชา เป็นเค้กผลไม้หรือฟรุตเค้กคล้ายกับที่ทำขึ้นในช่วงเทศกาลคริสต์มาส หากแต่จะมีการตกแต่งด้วย marzipan ซึ่งทำจากอัลมอนด์เป็นก้อนกลม มาเรียงรายรอบบนหน้าเค้ก 11 ก้อน อันหมายถึงอัครสาวกทั้ง 11 องค์ (ไม่รวม Judas ศิษย์ทรยศ)

Easter Biscuits หรือจะเรียกว่า “เค้ก” ก็ย่อมได้ ทำขึ้นสำหรับรับประทานในวันแรกของเทศกาลซึ่งเป็นวันอาทิตย์ เค้กนี้จะใส่เครื่องเทศ ลูกองุ่น และผลไม้แห้ง และผิวส้มขูด

ส่วนของขวัญที่มอบให้กันนั้น เดิมทีเป็นการนำไข่นกมาต้มและทาสีเปลือกให้มีสีสันที่สดใสให้เห็นถึงความหมายของแสงอาทิตย์ที่สดใสในฤดูใบไม้ผลิ แต่ในเวลาต่อมาก็เป็นการมอบไข่ที่ทำจากช็อกโกแลต หุ้มด้วยกระดาษตะกั่วอาบสีต่างๆ บ้าง หรือมิฉะนั้น ก็เป็นถั่วเคลือบน้ำตาลสี และบางครั้งก็ทำเป็นรูปตัวกระต่าย อันเป็นสัตว์ที่นิยมวาดกันในสมัยวิกตอเรียนบนการ์ด ก่อนที่ภาพหลังจะมีการสร้างด้วยวัสดุอื่นที่กินได้

ในประเทศรัสเซียเมื่อครั้งยังปกครองโดยพระมหากษัตริย์ เจ้านายในราชวงศ์ โรมานอฟต่างนิยมสั่งช่างทอง Faberge ให้ทำไข่จากทองคำและโลหะมีค่า ประดับด้วยอัญมณีสีต่างๆ หรือมิฉะนั้น ก็ใช้วิธีประดับด้วยการลงยาเป็นสีต่างๆ โดยเฉพาะ สีชมพูเข้ม

พระเจ้าซาร์ นิโคลัส ที่ II คือกษัตริย์ที่โปรดปรานไข่ทองลงยาฝีมือของ Faberge ที่สุด ทรงโปรดให้ทำขึ้นเพื่อพระราชทานให้แก่พระมเหสี และพระประยูรญาติสตรีหลายพระองค์ เป็นสมบัติที่ตกทอดไปทั่วยุโรป และเป็นศิลปวัตถุที่มีมูลค่ามหาศาล เป็นที่ต้องการของนักนิยมของเก่าเป็นอย่างมาก มีการนำออกประมูลโดยตัวแทนที่มีชื่อเสียงบ่อยครั้ง

นักวิชาการทางด้านศาสนาได้ยอมรับต้นตอที่มาของคำว่าอีสเตอร์ซึ่งศึกษาโดยนักวิชาการทางด้านศาสนาชาวอังกฤษอังกฤษในศตวรรษที่8 ที่ชื่อว่าเซนต์ เบเด(St.Bede) ซึ่งเชื่อว่า ชื่อ"Easter" นั้นมาจากภาษาสแกนดิเนเวียนว่า"OSTRA" และในภาษาทิวโทนิค(ภาษาพื้นเมืองสแกนดิเนวีย)ว่า"Ostern" หรือ "Eastre" ซึ่งเป็นชื่อของเทพธิดาแห่งเทพปกรณัมผู้ที่นำฤดูใบไม้ผลิและการเจริญพันธุ์และยังเป็นผู้ที่ถูกสักการะและเฉลิมฉลองในวันที่เรียกว่าVernal Equinox(วันในฤดูใบไม้ผลิที่มีกลางวันและกลางคืนเท่าๆกันพอดี)

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประวัติศาสตร์
ชาวฝรั่งเศสสืบเชื้อสายมาจากพวกโกลในศตวรรษที่ 1 จากนั้นตกมาอยู่ใต้การปกครองของพวกแฟรงก์ (ชื่อประเทศ France มาจากคำว่าแฟรงก์เช่นกัน) ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ที่มีบันทึกว่าเริ่มในศตวรรษที่ 5 เมื่อพระเจ้าชาร์เลอมาญตั้งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ใน ค.ศ. 843 ก็มีอาณาเขตครอบคลุมทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี


ภาพ La Liberté guidant le peuple หรือ เสรีภาพนำประชาชน เล่าเรื่องเหตุการณ์ตอนปฏิวัติฝรั่งเศสฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกษัตริย์จนถึงการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1792 จึงเปลี่ยนมาใช้ระบอบสาธารณรัฐ หลังจากนั้นนโปเลียน โบนาปาร์ตได้ตั้งตัวเองเป็นจักรพรรดิและรุกรานประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป เมื่อนโปเลียนพ่ายแพ้ ฝรั่งเศสจึงกลับมาใช้ระบบสาธารณรัฐอีกครั้ง เรียกว่ายุคสาธารณรัฐที่สอง แต่ก็อยู่ได้ไม่นานเพราะหลุยส์ นโปเลียน หลานลุงของนโปเลียนได้ยึดประเทศและตั้งจักรวรรดิที่สองอีกครั้ง

ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง ทศวรรษที่ 60 ซึ่งเป็นยุคล่าอาณานิคม จักรวรรดิฝรั่งเศสมีพื้นที่ใหญ่มาก โดยช่วงที่ใหญ่ที่สุดคือช่วงยุคทศวรรษที่ 20 ถึง 30 ซึ่งมีกว่า 12,898,000 ตารางกิโลเมตร และเป็นจักรวรรดิอันดับสองของโลก รองมาจากจักรวรรดิอังกฤษ

ฝรั่งเศสได้รับความบอบช้ำอย่างหนักจากสงครามโลกทั้งสองครั้ง ปัจจุบันใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบที่มีทั้งประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี (เรียกยุคสาธารณรัฐที่ห้า) ทศวรรษที่ผ่านมาฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นผู้นำของการรวมตัวตั้งประชาคมยุโรป ซึ่งพัฒนามาเป็นสหภาพยุโรปในปัจจุบัน
การเมือง
สาธารณรัฐฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐเดี่ยวกึ่งประธานาธิบดี รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2501 โดยผ่านการลงประชามติ สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญนั้นคือการเพิ่มอำนาจประธานาธิบดี อำนาจฝ่ายบริหารนั้นถูกแบ่งออกและมีหัวหน้า 2 คน ซึ่งก็คือประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ผ่านการเลือกตั้งโดยตรงแบบสากล มีวาระ 5 ปี (เดิม 7 ปี) มีตำแหน่งประมุขแห่งรัฐอีกด้วย และนายกรัฐมนตรี หัวหน้าคณะรัฐบาล ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี

รัฐสภาฝรั่งเศสนั้นแบ่งออกเป็น 2 สภาได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร (Assemblée Nationale) และ วุฒิสภา (Sénat) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนในเขตเลือกตั้ง มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระ 5 ปี สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีและเสียงข้างมากในสภาสามารถกำหนดการตัดสินใจของรัฐบาลอีกด้วย สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกของคณะผู้เลือกตั้ง มีวาระ 6 ปี (เดิม 9 ปี)

การแบ่งเขตการปกครอง
ดูบทความหลักที่ หน่วยการบริหารของประเทศฝรั่งเศส
ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรป (Metropolitan France) แบ่งการปกครองออกเป็น 22 แคว้น
โดยในแต่ละแคว้นแบ่งออกเป็น จังหวัด (départements) รวมทั้งหมด 96 จังหวัด

นอกจากในทวีปยุโรปแล้ว ประเทศฝรั่งเศสยังมีเขตการปกครองโพ้นทะเล (Overseas) อยู่ในทวีปต่าง ๆ ทั้งอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอฟริกา แอนตาร์กติกา และภูมิภาคโอเชียเนียอีก


เศรษฐกิจ
ประเทศฝรั่งเศสทั้งประเทศพึ่งอยู่กับพลังงานนิวเคลียร์ (เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์กอลเฟค)เมื่อดูจากมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ประเทศฝรั่งเศสนับเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 4 ของโลก ประเภทของอุตสาหกรรมที่เป็นที่มาของความสำเร็จดังกล่าว ได้แก่ อุตสาหกรรมทางด้านการขนส่ง โทรคมนาคม อุตสาหกรรมอาหาร ผลิตภัณฑ์ยา รวมไปถึงภาคธนาคาร การประกันภัย การท่องเที่ยว และสินค้าฟุ่มเฟือย (เครื่องหนัง เสื้อผ้าสำเร็จรูป น้ำหอมและเหล้า)

ในด้านการลงทุน ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีการลงทุนจากต่างประเทศมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ทั้งนี้เพราะผู้ลงทุนพอใจในคุณภาพของแรงงานชาวฝรั่งเศส การค้นคว้าวิจัยขั้นสูง เทคโนโลยีชั้นสูงที่ก้าวหน้ามาก เสถียรภาพของค่าเงิน และการควบคุมต้นทุนการผลิต

เกษตรกรรม
ประเทศฝรั่งเศสมีจำนวนพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตรกว่า 590,000 แห่ง มีประชากรในวัยทำงานในภาคการเกษตร 1,189,000 คน และมีพื้นที่เพาะปลูก 27,668,000 เฮกตาร์หรือเท่ากับร้อยละ 50.7 ของประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ การค้าต่างประเทศ


เครื่องบินแอร์บัส เอ 380 เครื่องแรกที่ผลิตในเมืองตูลูส เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 โดยเครื่องบินแอร์บัสเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของความสำเร็จทางเศรษฐกิจของประเทศฝรั่งเศสและสหภาพยุโรปในอดีตประเทศฝรั่งเศสขาดดุลการค้ามาโดยตลอดจนถึงปี พ.ศ. 2525 ซึ่งได้มีการปรับโครงสร้างใหม่ เช่น การไม่รวมอัตรารายได้กับดัชนีเงินเฟ้อ และการปรับความสามารถในการแข่งขันส่งผลให้สภาวะการค้าของประเทศฝรั่งเศสดีขึ้น และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา ประเทศฝรั่งเศสก็ได้เปรียบดุลการค้าติดต่อกันเรื่อยมา โดยปัจจัยที่ส่งผลให้ฝรั่งเศสได้เปรียบดุลการค้า คือ ราคาพลังงานที่ฝรั่งเศสต้องนำเข้าได้ลดลง ประเทศฝรั่งเศสทำการค้ากับสหภาพยุโรปเป็นสำคัญโดยร้อยละ 60 ของการส่งออกของฝรั่งเศสส่งไปยังตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งเดิมถือว่าเป็นจุดอ่อนของประเทศฝรั่งเศส แต่สภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันได้กลายเป็นข้อได้เปรียบ และการส่งออกสินค้ามูลค่าสูงเช่น เครื่องบินแอร์บัส และอุปกรณ์การบิน ดาวเทียม อุปกรณ์ด้านการทหาร และรถไฟความเร็วสูง (TGV) ได้ขยายตัวอย่างมากโดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 20 ของการส่งออกของประเทศฝรั่งเศสทั้งหมด

แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจในอนาคต คาดว่าประเทศฝรั่งเศสจะได้เปรียบดุลการค้าลดลง เนื่องจากการถดถอยของอุปสงค์โลก ซึ่งเป็นผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจเอเชีย ในปี พ.ศ. 2541 และการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ภายหลังเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกาและสงครามในอิรัก[2]

การท่องเที่ยว
พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศสประเทศฝรั่งเศสนับเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากที่สุดในโลก มีจำนวนถึง 81.9 ล้านคนในปี พ.ศ. 2550 แซงหน้าประเทศสเปน (58.5 ล้านคนในปี พ.ศ. 2549) และสหรัฐอเมริกา (51.1 ล้านคนในปี พ.ศ. 2549) จำนวน 81.9 ล้านคนนี้ ไม่รวมนักท่องเที่ยวที่อาศัยในประเทศฝรั่งเศสน้อยกว่า 24 ชั่วโมง เช่น ชาวยุโรปทางตอนเหนือที่เดินทางผ่านประเทศฝรั่งเศสเพื่อไปประเทศสเปนหรืออิตาลีในฤดูร้อน ประเทศฝรั่งเศสมีสถานที่ท่องเที่ยวในทุกๆ บรรยากาศไม่ว่าจะเป็น สถานที่ท่องเที่ยวทางด้านวัฒนธรรมหรือธรรมชาติ ที่ประกอบไปด้วยทะเล หาดทราย ป่า แม่น้ำ ภูเขา บ้านพักตากอากาศ ฯลฯ สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดมีดังนี้[3] หอไอเฟล (6.2 ล้าน) , พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (5.7 ล้าน) , พระราชวังแวร์ซายส์ (2.8 ล้าน) , พิพิธภัณฑ์ออร์เซ (2.1 ล้าน) , ประตูชัยฝรั่งเศส (1.2 ล้าน) , ซองตร์ ปอมปิดู (1.2 ล้าน) , มงต์-แซงต์-มิแชล (1 ล้าน) , ชาโต เดอ ชองบอร์ด (711,000) , แซงต์-ชาแปลล์ (683,000) , ชาโต ดู โอต์-โคนิคบูร์ก (549,000) , ปุย เดอ โดม (5 แสน) , พิพิธภัณฑ์ปิกัสโซ (441,000) และการ์กาสซอนน์ (362,000)

ประเทศฝรั่งเศสมีโรงแรมกว่า 18,217 แห่ง สถานที่ตั้งแคมป์ 8,289 แห่ง หมู่บ้านตากอากาศ 1001 แห่ง บ้านพักเยาวชน 188 แห่ง ที่พักราคาย่อมเยาในต่างจังหวัด 63,158 แห่ง ห้องพักพร้อมอาหารเช้าตามบ้านคนท้องถิ่น 31,013 ห้อง โดยประเทศฝรั่งเศสมีรายได้จากการท่องเที่ยว 32.8 พันล้านยูโร นับเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและอิตาลี และมีดุลการท่องเที่ยวเกินดุลกว่า 9.8 พันล้านยูโร

ประชากร
ดูบทความหลักที่ ชาวฝรั่งเศส
ประชากรของประเทศฝรั่งเศสนั้นมีประมาณ 64.5 ล้านคน โดยเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 19 ของโลก เมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากรจำนวนมากได้แก่ ปารีส มาร์เซย์ ลียง ลีลล์ ตูลูส นีซและนองต์

วัฒนธรรม
ชาวฝรั่งเศสมีวัฒนธรรมการนอนกลางวัน จึงส่งผลให้ประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศสชอบนอนกลางวันตามไปด้วย อย่างไรก็ตามในส่วนลึกของวัฒนธรรม คล้ายคลึงกับของอังกฤษและอิตาลีอยู่แล้ว ไม่สามารถแบ่งได้ชัดเจนเด่นชัด เช่น การจับมือ ภาษา เป็นต้น เนื่องจากชนพื้นเมืองเป็น ชนผิวดำ และสีผิว จึงได้วัฒธรรมตามกันมา.

ที่มาและประวัติของชื่อ

ที่มาและประวัติของชื่อ
คำว่า ฝรั่งเศส (France) มาจากภาษาละติน Francia ซึ่งแปลตามตรงว่า ดินแดนแห่งแฟรงค์ (Frankland) และมีหลายทฤษฎีที่สันนิษฐานถึงที่มาของคำว่า แฟรงค์ (Franks) ซึ่งหนึ่งในนั้นคือคำในภาษาโปรโต-เยอรมัน Frankon ซึ่งแปลว่า หลาว หอก หรือทวนซึ่งเป็นอาวุธของพวกแฟรงค์ เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ฟรานซิสกา (Francisca)

อีกทฤษฎีหนึ่งตามหลักนิรุกติศาสตร์คือในภาษาเยอรมันโบราณ คำว่า แฟรงค์ แปลว่า อิสระ ซึ่งตรงกันข้ามกับความเป็นทาส โดยคำดังกล่าวยังคงปรากฏในภาษาฝรั่งเศสปัจจุบันในรูป ฟรังก์ (Franc) ซึ่งเป็นสกุลเงินของประเทศฝรั่งเศสจนกระทั่งเปลี่ยนเป็นสกุลเงินยูโรในปี พ.ศ. 2545

ในปัจจุบันประเทศเยอรมนียังเรียกประเทศฝรั่งเศสว่า Frankreich ซึ่งแปลว่า อาณาจักรแห่งแฟรงค์ อีกด้วย



ภูมิประเทศ
ขณะที่ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรป (La Métropole หรือ France métropolitaine) ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ฝรั่งเศสก็ยังมีดินแดนที่ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ทะเลแคริบเบียน อเมริกาใต้ มหาสมุทรอินเดียทางตะวันตกและทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ รวมทั้งบางส่วนในทวีปแอนตาร์กติกาอีกด้วย (การอ้างสิทธิเหนือดินแดนในแอนตาร์กติกาไม่ได้รับการยอมรับจากหลายประเทศ ดู สนธิสัญญาแอนตาร์กติก)


ภาพถ่ายแผ่นดินใหญ่ประเทศฝรั่งเศสจากดาวเทียมในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2545ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปนั้นมีพื้นที่ 543,935 ตารางกิโลเมตร (210,013 ตารางไมล์) ทำให้ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งใหญ่กว่าประเทศสเปนเพียงนิดเดียว ประเทศฝรั่งเศสมีพื้นที่ครอบคลุมลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายมาก ตั้งแต่ที่ราบชายฝั่งในภาคเหนือและตะวันตก ซึ่งติดกับทะเลเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติก ไปจนถึงเทือกเขาแอลป์ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ราบสูงมาสซิฟ ซองตราลทางภาคใต้ตอนกลางและเทือกเขาปีเรเนส์ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศฝรั่งเศสยังมีจุดที่สูงที่สุดในทวีปยุโรปตะวันตกคือ ยอดเขามงต์บล็องก์ หรือ มองต์บลังก์ (Mont Blanc) ซึ่งสูง 4,807 เมตร (15,770 ฟุต) ตั้งอยู่บนเทือกเขาแอลป์ บริเวณชายแดนประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี

ประเทศฝรั่งเศสภาคพื้นทวีปยุโรปยังมีแม่น้ำต่างๆ ที่สำคัญอีกมากมาย เช่น แม่น้ำลัวร์ แม่น้ำการอนน์ แม่น้ำแซนและแม่น้ำโรนซึ่งแบ่งที่ราบสูงมาสซิฟ ซองตราลออกจากเทือกเขาแอลป์อีกด้วย โดยไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่กามาร์ก ซึ่งเป็นจุดที่ต่ำที่สุดในประเทศฝรั่งเศส (2 เมตร หรือ 6.5 ฟุต จากระดับน้ำทะเล) และยังมีกอร์ส (คอร์ซิกา) ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

พื้นที่ของประเทศฝรั่งเศส รวมทั้งจังหวัดและดินแดนโพ้นทะเล (ไม่รวมดินแดนอาเดลี) คือ 674,843 ตารางกิโลเมตร (260,558 ตารางไมล์) นับเป็น 0.45% ของพื้นแผ่นดินโลกทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามประเทศฝรั่งเศสครอบครองพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะเป็นอันดับสองของโลก ด้วยเนื้อที่ 11,035,000 ตารางกิโลเมตร (4,260,000 ตารางไมล์) นับเป็น 8% ของพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะทั้งหมดในโลก ตามหลังสหรัฐอเมริกา ไปเพียง 316,000 ตารางกิโลเมตร และนำประเทศออสเตรเลียกว่า 2,886,750 ตารางกิโลเมตร

ความคิดเห็น